จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
วิชา PBL (Problem Base Learning) ในยุคที่ต้องเป็นการเรียนรู้แบบ Home base learning community หรือ HBLC ของนักเรียนมัธยมในเทอมนี้เน้นการทำโครงงานที่ใช้ปัญหาของมนุษย์เป็นศูนย์กลางหรือรูปแบบกระบวนการ Design Thinking นักเรียนต้องเข้าใจปัญหาที่เลือกมาทำอย่างลึกซึ้งผ่านการสัมภาษณ์ สำรวจ และศึกษาข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาของกลุ่มเป้าหมายและนำไปแก้ปัญหาต่อไป
สิ่งท้าทายของทั้งนักเรียนและครู คือ “การที่เราไม่ได้เจอหน้ากัน” ดูเหมือนจะเป็นปัญหาอีกข้อที่นักเรียนต้องแก้ปัญหาและปรับกระบวนการทำงานของตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การทำงานร่วมกันทำได้ในรูปแบบออนไลน์โดยการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ หรือการทดสอบตัวอย่างต้นแบบที่ทำออกมาโดยการใช้บริการขนส่งต่าง ๆ เพื่อส่งไปให้กลุ่มตัวอย่างได้ทดสอบและ feedback กลับมาเพื่อนำผลงานกลับมาพัฒนาต่อ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะใหม่ ๆ ที่นักเรียนหลายคนได้เรียนรู้ผ่านการทำงานในยุคที่ทุกคนไม่ได้พบเจอกัน
การทำงานของนักเรียนชั้น ม.ต้นเดินทางมาถึงช่วงท้ายของการทำโครงงาน หลายกลุ่มทำงานได้ตามเป้าหมาย หลายกลุ่มทำได้เกินเป้าหมายที่วางไว้ บางกลุ่มอาจทำได้ไม่ถึงเป้าที่ตนเองตั้งไว้ แต่สิ่งสำคัญคือสิ่งที่นักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้ในระหว่างกระบวนการทำงาน ซึ่งนักเรียนจะได้นำเสนอผลงานของตนเองผ่าน zoom ในตอนท้าย และการนำเสนอความก้าวหน้าโครงงานของพี่ ๆ ม. ปลาย ที่ทำมาได้ครึ่งทางแล้ว
ขอบคุณเรื่องเล่าจากคุณครูวิสนี ทินโนรส (ครูเนส) ฝ่ายมัธยม
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 8 dyopkpo 2564